การประกาศใช้กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายเปรียบเทียบกับการประกาศพระวินัยและการบังคับใช้พระวินัย
ร่างพระราชบัญญัติใดที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว
ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย หรือร่างพระราชบัญญัติใดที่รัฐสภาลงมติยืนยันและก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ
ถวายอีกครั้งหนึ่งนั้น ถ้า
(1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา
หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกัน
มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้
หรือกระบวนการตรากฎหมายไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภา แล้วแต่กรณี
แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยและแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า
(2) นายกรัฐมนตรีเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้หรือกระบวนการตรากฎหมายไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
ให้ส่งความเห็นเช่นว่านั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย
และแจ้งให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาทราบโดยไม่ชักช้า
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาไว้ในมาตรา 38 ว่า
“เมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้ร่างพระราชบัญญัติขึ้นสำเร็จแล้วให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯถวาย
เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
ท่านให้ใช้เป็นกฎหมายไว้”
นับแต่บัดนั้นมา ร่างพระราชบัญญัติที่นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ
เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
จะมีผลบังคับก็ต่อเมื่อได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติอยู่ถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 ก็ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 90 ว่า
“ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติ
จะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
และเมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย
หรือถือเสมือนว่าได้ทรงลงพระปรมาภิไธยตามรัฐธรรมนูญนี้แล้ว
ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป”
ราชกิจจานุเบกษาเป็นหนังสือสำคัญของทางราชการในการใช้เป็นสื่อระหว่างรัฐกับประชาชน
โดยทำให้ประชาชนได้รับทราบและได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและเรื่องสำคัญต่างๆ
ของชาติ จึงมีประโยชน์และมีคุณค่าสูงยิ่งในการศึกษาค้นคว้า
โดยเฉพาะฉบับย้อนหลังเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและอ้างอิงได้ในทางนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์
ภาษา วรรณคดี ขนบธรรมเนียมประเพณี และประวัติบุคคล ฯลฯ
หากศึกษาค้นคว้าทั้งระบบจะทำให้เข้าใจประวัติศาสตร์ของชาติทุกด้านในแต่ละยุคสมัย
ด้วยเหตุว่า กฎหมายมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ดังนั้น
ประชาชนจะกระทำความผิดกฎหมายโดยอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้ เพราะการไม่รู้กฎหมายมิใช่ว่า ฝ่ายผู้มีอำนาจในการออกกฎหมายจะปิดบัง
หรือการเข้าถึงกฎหมายจะยาก แต่เป็นเพราะการไม่ขวนขวายที่จะเรียนรู้กฎหมายของประชาชนผู้อยู่ภายใต้กฎหมายนั้นเอง
หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมที่บังคับใช้กฎหมาย ในที่นี้
ผู้เขียนขอกล่าวเฉพาะกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเพราะเป็นการสอดคล้องกับการบังคับพระวินัยมากกว่ากระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง
1. องค์กรและบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา[1]
1.1) พนักงานสอบสวนหรือตำรวจ
พนักงานสอบสวนหรือตำรวจ เป็นองค์กรที่สำคัญที่สุดองค์กรหนึ่งในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพราะเป็นหน่วยงานแรกที่รับผิดชอบต่อกระบวนการยุติธรรมก่อนที่คดีหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้น จะผ่านไปยังพนักงานอัยการ และเข้าสู่การพิจารณาของศาล
ตำรวจเป็นผู้จับกุมผู้กระทำความผิด และทำการรวบรวมพยานหลักฐานที่ได้จากการสอบสวนแล้วส่งเรื่องหรือสำนวนสอบสวนให้พนักงานอัยการ ซึ่งเป็นทนายของ แผ่นดิน ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล เมื่อศาลพิพากษาลงโทษแล้ว เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จะควบคุมตัวผู้นั้นไว้ในเรือนจำเพื่ออบรม ดัดนิสัย และฝึกอาชีพต่อไป
1.1) พนักงานสอบสวนหรือตำรวจ
พนักงานสอบสวนหรือตำรวจ เป็นองค์กรที่สำคัญที่สุดองค์กรหนึ่งในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพราะเป็นหน่วยงานแรกที่รับผิดชอบต่อกระบวนการยุติธรรมก่อนที่คดีหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้น จะผ่านไปยังพนักงานอัยการ และเข้าสู่การพิจารณาของศาล
ตำรวจเป็นผู้จับกุมผู้กระทำความผิด และทำการรวบรวมพยานหลักฐานที่ได้จากการสอบสวนแล้วส่งเรื่องหรือสำนวนสอบสวนให้พนักงานอัยการ ซึ่งเป็นทนายของ แผ่นดิน ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล เมื่อศาลพิพากษาลงโทษแล้ว เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จะควบคุมตัวผู้นั้นไว้ในเรือนจำเพื่ออบรม ดัดนิสัย และฝึกอาชีพต่อไป
1.2) ทนายความ
ทนายความเข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม คือ เข้ามาว่าความแก้ต่างให้แก่คู่ความไม่ว่าจะเป็นโจทก์หรือจำเลย ทนายความเป็นผู้ประกอบอาชีพกฎหมายโดยอิสระ ทนายความจะให้คำปรึกษาหรือดำเนินคดีแทน โดยคิดค่าบริการจากลูกความ ทนายความจึงเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งในกระบวนการยุติธรรม เพราะเป็นผู้รู้กฎหมาย และทำหน้าที่เป็นตัวแทนของคู่ความในการดำเนินคดีในศาล การกระทำของทนายในศาลมีผลเท่ากับคู่ความทำเอง
ทนายความเข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม คือ เข้ามาว่าความแก้ต่างให้แก่คู่ความไม่ว่าจะเป็นโจทก์หรือจำเลย ทนายความเป็นผู้ประกอบอาชีพกฎหมายโดยอิสระ ทนายความจะให้คำปรึกษาหรือดำเนินคดีแทน โดยคิดค่าบริการจากลูกความ ทนายความจึงเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งในกระบวนการยุติธรรม เพราะเป็นผู้รู้กฎหมาย และทำหน้าที่เป็นตัวแทนของคู่ความในการดำเนินคดีในศาล การกระทำของทนายในศาลมีผลเท่ากับคู่ความทำเอง
1.3) พนักงานอัยการ
พนักงานอัยการ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งดำเนินคดีต่อจากพนักงาน สอบสวน เมื่อพนักงานสอบสวนได้สอบสวนคดีเสร็จแล้ว ก็จะส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ เพื่อฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลต่อไป พนักงานอัยการจึงเปรียบเสมือนทนายของ แผ่นดิน มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีในนามของรัฐ
พนักงานอัยการ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งดำเนินคดีต่อจากพนักงาน สอบสวน เมื่อพนักงานสอบสวนได้สอบสวนคดีเสร็จแล้ว ก็จะส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ เพื่อฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลต่อไป พนักงานอัยการจึงเปรียบเสมือนทนายของ แผ่นดิน มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีในนามของรัฐ
ตำแหน่งพนักงานอัยการในพุทธกาล หรือตำแหน่งที่ทำหน้าที่คล้ายพนักงานอัยการในพุทธกาลก็ไม่มี
พนักงานอัยการ คือ ทนายแผ่นดิน
มีหน้าที่นำคดีที่ผ่านการสอบสวนแล้ว (ม.๑๒๐ ป.วิอาญา) ขึ้นฟ้องต่อศาล
พนักงานอัยการจะต้องผ่านการสอบคัดเลือกเพื่อเข้ารับราชการในตำแหน่งพนักงานอัยการ
และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตาม
พรบ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.๒๕๒๑
มาตรา ๒๗
การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งนอกจากตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ให้ประธาน
ก.อ. เสนอ ก.อ. โดยคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบ
ประวัติการปฏิบัติราชการของบุคคลนั้น
เทียบกับงานในตำแหน่งข้าราชการอัยการที่จะได้รับแต่งตั้งนั้นๆ
เพื่อให้ความเห็นชอบก่อน แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิกรรมการอัยการคนหนึ่งคนใดที่จะเสนอ
เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วจึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
ในพุทธกาล การนำความขึ้นทูลฟ้องพระพุทธเจ้า
เกิดจากภิกษุผู้ได้รับความเสียหายนำความขึ้นทูลฟ้องเอง หรือ
เมื่อภิกษุใดได้ยินว่าชาวบ้านติเตียนภิกษุรูปใดก็จะนำความขึ้นฟ้องพระพุทธเจ้า
จากการศึกษา ไม่ปรากฏว่าพระพุทธเจ้าทรงแต่งตั้งภิกษุรูปใดเป็นพิเศษเพื่อทำหน้าที่ต่างพระเนตร
พระกรรณ ดังนั้น ตำแหน่งพนักงานอัยการหรือที่มีหน้าที่คล้ายพนักงานอัยการจึงไม่มี
1.4) ศาลยุติธรรม
ศาลเป็นผู้ทำหน้าที่พิจารณาชี้ขาดคดีหรหือตัดสินคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ศาลแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
ก. ศาลชั้นต้น คือ ศาลที่จะเริ่มพิจารณาอรรถคดีเป็นเบื้องแรก ศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญา สำหรับในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ศาลแขวงพระนครเหนือ ศาลแขวงพระนครใต้ ศาลแขวงธนบุรี ศาลจังหวัดมีนบุรี ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง ศาลอาญาธนบุรี และศาลอาญา ส่วนในจังหวัดอื่นได้แก่ ศาลแขวง ศาลจังหวัด และศาลคดีเด็กและเยาวชน
ข. ศาลอุทธรณ์ คือ ศาลซึ่งวินิจฉัยข้อผิดพลาด หรือข้อขาดตกบกพร่องของศาลชั้นต้น เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในกระบวนวิธีพิจารณาอรรถคดี ศาลอุทธรณ์นั้นเดิมมีอยู่ศาลเดียว ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร แต่ปัจจุบันได้ขยายออกไปอีก 9 ศาล คือ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 – 9
ศาลเป็นผู้ทำหน้าที่พิจารณาชี้ขาดคดีหรหือตัดสินคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ศาลแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
ก. ศาลชั้นต้น คือ ศาลที่จะเริ่มพิจารณาอรรถคดีเป็นเบื้องแรก ศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญา สำหรับในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ศาลแขวงพระนครเหนือ ศาลแขวงพระนครใต้ ศาลแขวงธนบุรี ศาลจังหวัดมีนบุรี ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง ศาลอาญาธนบุรี และศาลอาญา ส่วนในจังหวัดอื่นได้แก่ ศาลแขวง ศาลจังหวัด และศาลคดีเด็กและเยาวชน
ข. ศาลอุทธรณ์ คือ ศาลซึ่งวินิจฉัยข้อผิดพลาด หรือข้อขาดตกบกพร่องของศาลชั้นต้น เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในกระบวนวิธีพิจารณาอรรถคดี ศาลอุทธรณ์นั้นเดิมมีอยู่ศาลเดียว ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร แต่ปัจจุบันได้ขยายออกไปอีก 9 ศาล คือ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 – 9
ค. ศาลฎีกา เป็นศาลสูงสุดของศาลในระบบศาลยุติธรรม มีศาลเดียว
ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยความบกพร่อง
หรือข้อผิดพลาดในการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์อีกขั้นหนึ่ง
1.5) กรมราชทัณฑ์
เจ้าหน้าที่ฝ่ายราชทัณฑ์ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเกือบทุกขั้นตอน โดยทำหน้าที่ควบคุมผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ในระหว่างการดำเนินคดีอาญาไม่ว่าจะเป็นชั้นก่อนศาลพิจารณา ระหว่างการพิจารณา ตลอดจนภายหลังการพิจารณาพิพากษา ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา เจ้าหน้าที่ฝ่ายราชทัณฑ์มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาล เช่น ควบคุมตัว ปล่อยตัว หรือแม้แต่คำพิพากษาประหารชีวิต ก็เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายราชทัณฑ์ ที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล เป็นต้น
อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ฝ่ายราชทัณฑ์ยังมีความรับผิดชอบสำคัญอื่นอีก คือ การฝึกอบรม และแก้ไขฟื้นฟูผู้ถูกคุมขังให้กลับตนเป็นคนดี ด้วยการให้การอบรมทั้งในด้านศีลธรรม และอาชีพ เพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมภายนอกได้ภายหลังได้รับการปล่อยตัวไป
เจ้าหน้าที่ฝ่ายราชทัณฑ์ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเกือบทุกขั้นตอน โดยทำหน้าที่ควบคุมผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ในระหว่างการดำเนินคดีอาญาไม่ว่าจะเป็นชั้นก่อนศาลพิจารณา ระหว่างการพิจารณา ตลอดจนภายหลังการพิจารณาพิพากษา ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา เจ้าหน้าที่ฝ่ายราชทัณฑ์มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาล เช่น ควบคุมตัว ปล่อยตัว หรือแม้แต่คำพิพากษาประหารชีวิต ก็เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายราชทัณฑ์ ที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล เป็นต้น
อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ฝ่ายราชทัณฑ์ยังมีความรับผิดชอบสำคัญอื่นอีก คือ การฝึกอบรม และแก้ไขฟื้นฟูผู้ถูกคุมขังให้กลับตนเป็นคนดี ด้วยการให้การอบรมทั้งในด้านศีลธรรม และอาชีพ เพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมภายนอกได้ภายหลังได้รับการปล่อยตัวไป
ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยแล้ว
พระวินัยนั้นจะถูกถ่ายทอดต่อกันด้วยมุขปาฐะ เป็นอันว่า ภิกษุสงฆ์ศิษย์สำนักต่างๆ
ในพุทธศาสนาจะได้ทราบพระวินัยนั้นทั้งหมด และจะต้องถือปฏิบัติตามพระวินัยอย่างเคร่งครัด
หากมีการกระทำอันเป็นการผิดต่อพระวินัย จะมีพระวินัยธร
ทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาตัดสินคดี โดยปรับอาบัติแก่ภิกษุผู้กระทำความผิด
พระวินัยธร คือ ผู้ทรงวินัย มีหน้าที่พิจารณาอธิกรณ์
ในปัจจุบันก็คือผู้พิพากษานั่นเอง อนึ่ง ในสมัยพุทธกาล พระอุบาลี
เอตทัคคะด้านทรงพระวินัย เป็นหนึ่งในพระวินัยธร
ภิกษุใดรู้วัตถุ วิบัติ อาบัติ นิทาน คำต้น
คำหลัง สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ โดยเสมอและเป็นผู้เข้าใจอาการ
ภิกษุผู้เช่นนั้นๆ แลพระผู้มีพระภาคตรัสว่า ควรเลือก.
อนึ่ง ภิกษุใดรู้กรรม อธิกรณ์ และเข้าใจสมถะ
เป็นผู้ไม่กำหนัดไม่ขัดเคือง และไม่หลง ไม่ลำเอียง เพราะกลัว เพราะหลง
เข้าใจในบัญญัติ ฉลาดในการพินิจ เป็นผู้ได้พรรคพวก มีความละอาย มีกรรมขาว
มีความเคารพ ภิกษุผู้เช่นนั้นๆ แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ควรเลือก.
ถ้าเปรียบกับผู้พิพากษา คือ ต้องรู้ สารบัญญัติ
วิธีสบัญญัติ การสืบพยาน การไต่สวนหาความจริง จับเท็จพยานได้โดยอาการ
รู้วิธีการลงโทษที่เหมาะสม
ในส่วนของพระวินัยธรที่ดี ต้องรู้ในสิ่งเหล่านี้ คือ
ว่าด้วยการรู้วัตถุ
[๑๐๘๘] คำว่า พึงรู้วัตถุ นั้น คือ
พึงรู้วัตถุแห่งปาราชิก ๘ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งสังฆาทิเสส ๒๓ สิกขาบท
พึงรู้วัตถุแห่งอนิยต ๒ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งนิสสัคคีย์ ๔๒ สิกขาบท
พึงรู้วัตถุแห่งปาจิตตีย์ ๑๘๘ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งปาฏิเทสนียะ ๑๒ สิกขาบท
พึงรู้วัตถุแห่งทุกกฏทั้งหลาย พึงรู้วัตถุแห่งทุพภาสิตทั้งหลาย.
ว่าด้วยการรู้วิบัติ
[๑๐๘๙] คำว่า พึงรู้วิบัติ คือ พึงรู้ศีลวิบัติ
อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ อาชีววิบัติ.
ว่าด้วยการรู้อาบัติ
[๑๐๙๐] คำว่า พึงรู้อาบัติ นั้น คือ
พึงรู้อาบัติปาราชิก อาบัติสังฆาทิเสส อาบัติถุลลัจจัย อาบัติปาจิตตีย์
อาบัติปาฏิเทสนียะ อาบัติทุกกฏ อาบัติทุพภาสิต.
ว่าด้วยการรู้นิทาน
[๑๐๙๑] คำว่า พึงรู้นิทาน นั้น คือ
พึงรู้นิทานแห่งปาราชิก ๘ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งสังฆาทิเสส ๒๓ สิกขาบท
พึงรู้นิทานแห่งอนิยต ๒ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งนิสสัคคีย์ ๔๒ สิกขาบท
พึงรู้นิทานแห่งปาจิตตีย์ ๑๘๘ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งปาฏิเทสนียะ ๑๒ สิกขาบท
พึงรู้นิทานแห่งทุกกฏทั้งหลาย พึงรู้นิทานแห่งทุพภาสิตทั้งหลาย.
ว่าด้วยการรู้อาการ
[๑๐๙๒] คำว่า พึงรู้อาการ นั้น คือ
พึงรู้จักสงฆ์โดยอาการ พึงรู้จักคณะโดยอาการพึงรู้จักบุคคลโดยอาการ
พึงรู้จักโจทก์โดยอาการ พึงรู้จักจำเลยโดยอาการ.
ข้อว่า พึงรู้จักสงฆ์โดยอาการ นั้น คือ
พึงรู้จักสงฆ์โดยอาการอย่างนี้ว่า สงฆ์หมู่นี้จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม
โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ.
ข้อว่า พึงรู้จักคณะโดยอาการ นั้น คือ
พึงรู้จักคณะโดยอาการอย่างนี้ว่า คณะนี้จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม
โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์หรือไม่หนอ.
ข้อว่า พึงรู้จักบุคคลโดยอาการ นั้น คือ
พึงรู้จักบุคคลโดยอาการอย่างนี้ว่า บุคคลผู้นี้จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม
โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ.
ข้อว่า พึงรู้จักโจทก์โดยอาการ นั้น คือ
พึงรู้จักโจทก์โดยอาการอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้จักตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการ
แล้วโจทก์ผู้อื่น หรือไม่หนอ.
ข้อว่า พึงรู้จักจำเลยโดยอาการ นั้น คือ
พึงรู้จักจำเลยโดยอาการอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ตั้งอยู่ในธรรม ๒ ข้อ คือ
ให้การตามจริงและไม่โกรธ หรือไม่หนอ.
ว่าด้วยรู้คำต้นและคำหลัง
[๑๐๙๓] คำว่า พึงรู้คำต้นและคำหลัง นั้น คือ พึงรู้คำต้นและคำหลังอย่างนี้ว่าท่านผู้นี้ย้ายวัตถุจากวัตถุ
ย้ายวิบัติจากวิบัติ ย้ายอาบัติจากอาบัติ ปฏิเสธแล้วกลับปฏิญาณ
ปฏิญญาณแล้วกลับปฏิเสธ หรือสับเรื่องอื่นด้วยเรื่องอื่น
หรือไม่หนอ.ว่าด้วยการรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ
[๑๐๙๔] คำว่า พึงรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ นั้น
คือ พึงรู้เมถุนธรรม พึงรู้อนุโลมแก่เมถุนธรรม พึงรู้บุพพภาคแห่งเมถุน.
ข้อว่า พึงรู้เมถุนธรรม นั้น คือ พึงรู้ความร่วมกันเป็นคู่ๆ.
ข้อว่า พึงรู้อนุโลมแก่เมถุนธรรม นั้น คือ
ภิกษุอมองค์กำเนิดของภิกษุอื่น ด้วยปากของตน
ข้อว่า พึงรู้บุพพภาคแห่งเมถุนธรรม นั้น คือ สี สิ่งมิใช่สี
การเคล้าคลึงด้วยกายวาจาชั่วหยาบ การบำเรอตนด้วยกาม การยังวรรณะให้เกิด.
ว่าด้วยรู้กรรม
[๑๐๙๕] คำว่า พึงรู้กรรม นั้น ได้แก่ พึงรู้กรรม ๑๖
อย่าง คือ พึงรู้อปโลกนกรรม ๔ อย่าง พึงรู้ญัตติกรรม ๔ อย่าง พึงรู้ญัตติทุติยกรรม
๔ อย่าง พึงรู้ญัตติจตุตถกรรม ๔ อย่าง.
ว่าด้วยรู้อธิกรณ์
[๑๐๙๖] คำว่า พึงรู้อธิกรณ์ นั้น ได้แก่ พึงรู้อธิกรณ์
๔ คือ พึงรู้วิวาทาธิกรณ์อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์.ว่าด้วยรู้สมถะ
[๑๐๙๗] คำว่า พึงรู้สมถะ นั้น ได้แก่ พึงรู้สมถะ ๗ คือ
พึงรู้สัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา ตัสสปาปิยสิกา
ติณวัตถารกะ.